หน่วยการเรียนที่ 1 นวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศ
นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
นวัตกรรม
ความหมายนวัตกรรม
คำว่านวัตกรรม มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส(Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม? แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วยการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อนเลย
2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิมจากข้อความบางส่วนในการแสดงปาฐกถา ความสำคัญของนวัตกรรมในการแข่งขันยุคใหม่
ปัจจุบันผมจะได้ยินผู้บริหารจำนวนมากที่พูดถึงคำว่านวัตกรรมหรือ Innovation ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นผู้บริหารมักจะต้องการให้องค์กรที่ตนเองบริหารอยู่มุ่งเน้นในเรื่องของนวัตกรรม หรือมีความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization) ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาในหมู่ผู้บริหารระดับกลาง และระดับล่างว่านวัตกรรมนั้นจริงๆ แล้วคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นจะทำได้อย่างไร
มักจะมีความเข้าใจผิดอยู่มากเวลาเรานึกถึงคำว่านวัตกรรมว่าต้องหมายถึง สิ่งที่เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงหรือสินค้าใหม่ๆ ที่มีความเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่ชอบออกมาดึงดูดเงินในกระเป๋าของเรา อีกทั้งยังมีความเข้าใจว่านวัตกรรมก็คือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ แต่จริงๆ แล้วคำว่านวัตกรรมไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีเท่านั้น
รากศัพท์ของคำว่า Innovation มาจากภาษาละตินว่า innovare ที่แปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ ในขณะเดียวกันเมื่อเปิดดูพจนานุกรมของ สอ เสถบุตร ก็จะพบว่าคำว่า Innovation แปลเป็นไทยว่า เปลี่ยนแปลงใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้นะครับว่าเมื่อเราพูดถึงนวัตกรรม เราไม่ได้พูดถึงแต่เฉพาะเทคโนโลยีชั้นสูงเท่านั้น ผมขออนุญาตตีความหมายรวมเลยว่านวัตกรรมน่าจะหมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสิ่งใหม่ๆ
เมื่อเราเข้าใจในที่มาของคำว่านวัตกรรมแล้ว คิดว่าท่านผู้อ่านก็คงจะเห็นภาพนะครับว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมถึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ และการแข่งขันในปัจจุบัน จริงๆ แล้วคงไม่ใช่แค่องค์กรธุรกิจเท่านั้นหรอกนะครับ ผมเชื่อว่าองค์กรทุกประเภทควรจะต้องให้ความสำคัญกับนวัตกรรม เนื่องจากในปัจจุบัน ถ้าองค์กรไม่สามารถพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยสิ่งใหม่ๆ แล้วย่อมยากที่จะทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ หน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรหลายแห่งเริ่มที่จะพยายามพัฒนาตนเองในเชิงของนวัตกรรมมากขึ้น อย่างเช่นในหน่วยงานที่ผมสังกัดอยู่ (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เราก็ได้มีการกำหนดกลยุทธ์หลักของคณะในอันที่จะเป็น Innovative Business School เป็นต้น
ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูองค์กรที่เป็นผู้นำในแต่ละธุรกิจดูซิครับ แล้วจะพบว่าความสำเร็จขององค์กรเหล่านั้นเกิดขึ้นจาก นวัตกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางด้านสินค้า ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการให้บริการ ด้านการจัดการ หรือด้านการตลาด และการที่องค์กรเหล่านี้จะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องก็ต้องเกิดขึ้นจากนวัตกรรมเช่นกัน
ถ้าองค์กรไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองจากสิ่งใหม่ๆ ได้แล้วย่อมยากที่จะทำให้องค์กรยังคงครองความเป็นที่หนึ่งได้ อย่างมากก็เป็นเพียงองค์กรธรรมดาๆ อีกแห่งหนึ่งเท่านั้นเอง
เมื่อท่านผู้อ่านเห็นความสำคัญของนวัตกรรมแล้ว ก็คงเกิดคำถามขึ้นในใจต่อนะครับ ว่าแล้วจะพัฒนาองค์กรของท่านให้มีลักษณะเป็น Innovative Organization หรือองค์กรแห่งนวัตกรรมได้อย่างไร? การพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถของผู้บริหารทุกองค์กร เพียงแต่จะต้องมีความเข้าใจต่อคุณลักษณะของ Innovative Organization เสียก่อน อีกทั้งต้องเข้าใจด้วยนะครับว่าคำว่าองค์กรแห่งนวัตกรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมีหน่วยงานทางด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เท่านั้น แต่การที่จะเป็น Innovative Organization ได้จะต้องเกิดขึ้นจากทั้งองค์กร เราลองมาดูกันนะครับว่าองค์กรที่มีลักษณะเป็น Innovative Organization ควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
แรกสุดก็คงหนีไม่พ้นทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็น Innovative Organization อีกทั้งความมุ่งมั่นและทุ่มเทของผู้บริหาร ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่เขียนไว้เฉยๆ ว่าต้องการเป็น Innovative Organization แต่ผู้บริหารกลับไม่ได้ทำตัวให้เหมาะสมกับความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม เมื่อทิศทางและความมุ่งมั่นของผู้บริหารชัดเจนแล้ว ก็คงจะต้องตามด้วยโครงสร้างองค์กรที่กระตุ้น และก่อให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงสร้าง ที่มีความยืดหยุ่น ในระดับที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร
แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังด้วยนะครับไม่ให้โครงสร้างมีลักษณะที่หลวมเกินไป เมื่อโครงสร้างสนับสนุนแล้ว ก็ต้องมีบุคลากรที่สำคัญที่จะทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ภายใต้กระบวนการนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จะเป็นเจ้าภาพในโครงการ (Champions) หรือผู้สนับสนุน (Promoters) อีกทั้งบุคลากรภายในองค์กร ยังจะต้องมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม มากกว่าปัจเจกบุคคล
ทั้งนี้เนื่องจากนวัตกรรมจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกันของบุคคลที่มีพื้นฐานที่หลากหลายมากกว่า ในขณะเดียวกันก็ต้องอย่าลืมความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรนะครับ เนื่องจากการที่บุคลากรจะเป็นผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้บุคลากรเองจะต้องมีความรู้และทักษะที่เหมาะสม
นอกเหนือจากในเรื่องของทิศทาง โครงสร้าง การทำงานเป็นทีม และบุคคลแล้ว องค์กรที่จะมีลักษณะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมยังจะต้องให้ความสำคัญกับบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมในการทำงานด้วย โดยถ้าเป็นไปได้องค์กรควรที่จะสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่ให้ความสำคัญและคุณค่ากับนวัตกรรมเป็นสำคัญ และต้องอย่าลืมว่าการจะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้นั้นความเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอกองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากหลายครั้งที่นวัตกรรมที่สำคัญภายในองค์กรไม่ได้เกิดขึ้นจากภายใน แต่เป็นการสามารถเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ จากภายนอกเข้ามารวมกันได้
ข้างต้นเป็นเพียงแค่บางส่วนของคุณลักษณะขององค์กรแห่งนวัตกรรมนะครับ ท่านผู้อ่านคงจะเห็นด้วยนะครับที่คำว่านวัตกรรมเป็นคำที่ดูดี เมื่อนำไปใส่ในวิสัยทัศน์หรือกลยุทธ์ขององค์กรใดก็แล้วแต่ ก็จะทำให้องค์กรนั้นดูดีไปด้วย แต่การที่จะพัฒนาองค์กรของตนเองให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
การที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมเกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น องค์กรจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบอะไรบ้าง
ประการแรกคงจะต้องเริ่มจากกลยุทธ์ขององค์กร ที่จะต้องมุ่งเน้นในด้านนวัตกรรมเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นในด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมภายนอกที่จะส่งผลต่อองค์กร ประการที่สององค์กรจะต้องมีเครื่องมือ กิจกรรม และแผนงานต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือในการบริหารโครงการด้านนวัตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ความเป็นไป
ประโยชน์ในการติดต่อรับ-ส่ง E-Mail นั้นจะรวดเร็ว,ประหยัด ค่าใช้จ่าย และส่งถึงแน่นอนกว่าโดยที่จดหมายนั้นจะไม่สูญหาย และยังคง สภาพเดิมทุกอย่าง นอกจากนี้ Electronic Mail ยังมีบริการให้เราค้นคว้า E-Mail Address ของผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งเมื่อเทียบแล้วก็เหมือนกับการค้นหารายนามโทรศัพท์นั่นเอง
ขั้นตอนการกำเนิดของนวัตกรรม
ในธุรกิจมาจาก 2 แหล่งหลักด้วยกันคือ (ที่มา: คัดลอกมาจาก คิดไทยสไตล์โมเดิร์น ของ คุณดนัย เทียนพุฒ นสพ.บิซวีส)แหล่งแรก การคิดค้นภายในองค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของแนวคิดใหม่ในสินค้าและบริการ โดยองค์กรมักจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนา (Research & Development-R&D) ขึ้นภายในองค์กร และจัดหาผู้ที่มี ความสามารถในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่นำไปสู่ “มูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ” ขององค์กร จะเห็นได้ว่า การเกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่องนั้น โดยทั่วไปมักมาจากการกระตุ้นนวัตกรรม โดยการใช้วัฒนธรรมองค์กรเป็นกลไกผลักดันให้บุคลากรทั้งหมดขององค์กรตื่นตัวสร้างความแปลกใหม่และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ แหล่งที่สอง การแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับนวัตกรรมจากภายนอก หรือ นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ไม่จำเป็นว่าแนวคิดที่ดีจะต้องมาจากบุคลากรภายในกิจการแต่เพียงอย่างเดียว โดยลักษณะคือ เปิดรับแนวคิดใหม่จากภายนอก จะทำให้แนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และหลากหลายกว่า รวมถึงอาจจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการพัฒนาเองทั้งหมด เนื่องจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาจจะกระจัดกระจายกันอยู่ในองค์กรต่างๆ เช่น การจัดจ้างภายนอก (Outsourcing) เลือกจ้างหน่วยงานภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า หรืออาจจะร่วมมือในเชิงพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีความพร้อมและบุคลากรในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมจากความถนัดของทั้งคู่ เป็นต้น ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดการนำนวัตกรรมจากภายนอกมาใช้มากขึ้น ทั้งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับเทคโนโลยี เทคนิคดังกล่าวจะช่วยให้กิจการสร้างความแปลกใหม่ในการผลิตและการดำเนินงาน โดยไม่ถูกจำกัดแนวคิดหรือความเชี่ยวชาญอยู่เฉพาะภายในองค์กรอีกต่อไป
ความแตกต่างของ“นวัตกรรม” และ “เทคโนโลยี”
“นวัตกรรม” เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ ที่มี 3 ลักษณะประกอบกันได้แก่1. จะต้อง เป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (feasible idea)
2. จะต้อง สามารถนำไปใช้ได้ผลจริง (practical application)
3. มีการเผย แพร่ออกสู่ชุมชน
ส่วนเทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นความแตกต่างของนวัตกรรมและเทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นการคิดค้นวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใหม่ๆ หรือทำการปรับปรุงของเก่าให้ได้สิ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ส่วนเทคโนโลยี คือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีระบบ หรือจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากผลการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งได้แก่นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อย หน่วยเล็กๆเพียงบางส่วน ไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิต ประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการใช้ชีวิตประจำวัน...
นวัตกรรมเกิดจากแนวคิดและความรู้ใหม่ๆที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ ส่วนเทคโนโลยีเกิดจากการนำนวัตกรรมมาพิสูจน์ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ผลผลิตจากการพิสูจน์ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ
1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ หรือการกระทำใหม่ๆจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็น
แนวปฏิบัติ
2. นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการนำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
ตัวอย่างของนวัตกรรม
1. ชิปไมโครโปรเซสเซอร์
2.Personal and laptop computers คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและแล็ปท็อป
3. Word processing software ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
4.Microwave oven เตาไมโครเวฟ
5.Spreadsheet software ซอฟต์แวร์สเปรดชีต
6.Mobile phones โทรศัพท์มือถือ
7.Disposable baby diapers ผ้าอ้อมเด็กทารกทิ้ง
8.The World Wide Web / Internet โลกอินเตอร์เน็ต Web / ไซด์
9.Digital cameras กล้องดิจิตอล
10.Computer printer เครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์
11.Email ส่งอีเมล์
12.Google search การค้นหาของ Google
13.iPod and iTunes iPod และ iTunes
14.WiFi WiFi
15.Social networking เครือข่ายสังคม
•16.Green energy sources such as wind turbines and solar panels แหล่งพลังงานสีเขียวเช่นกังหันลมและแผงเซลล์แสงอาทิตย์
•17.Global Positioning or Satellite Navigation systems ตำแหน่งบนโลกหรือดาวเทียมระบบนำทาง
This is of course not a definitive list and new breakthrough innovations will continue to emerge. นี้เป็นหลักสูตรที่ไม่ชัดเจนรายการและนวัตกรรมการพัฒนาใหม่จะยังคงเกิด
This is of course not a definitive list and new breakthrough innovations will continue to emerge. นี้เป็นหลักสูตรที่ไม่ชัดเจนรายการและนวัตกรรมการพัฒนาใหม่จะยังคงเกิด
เทคโนโลยี
ความหมาย
หมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น คำว่า นาโน (Nano) แปลว่าคนแคระในภาษากรีก แต่ในความหมายทางวิทยาศาสตร์หมายถึง มาตราวัดความยาวตามมาตราเมตริก 1 นาโนเมตร มีขนาด 1 ในพันล้านส่วนของ 1 เมตร (10 - 9 เมตร) แสดงว่า สิ่งใดก็ตามที่มีขนาดความยาว 1 นาโนเมตร จะมีขนาดเล็กมาก ดังนั้น คำว่า นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นวิทยาการประยุกต์แขนงใหม่ที่ว่าด้วยเรื่องของการสร้างหรือการสังเคราะห์สิ่งของต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็กในระดับโมเลกุล และอะตอม และความหมายที่ง่ายต่อความเข้าใจมากที่สุด ก็น่าจะหมายถึง “เทคโนโลยีขนาดจิ๋ว” นั่นเอง คำว่านาโนเทคโนโลยี นั้นเดิมทีศาสตราจารย์ริชาร์ด ฟายน์แมน ใช้คำว่า Minimanufacturing ซึ่งหมายความว่าเป็นกระบวนการผลิตสิ่งที่มีขนาดเล็กจิ๋ว จนกระทั่งปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ศาสตราจารย์ โนริโอะ ทานิกูชิ (Norio Taniguchi) แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียวเป็นคนแรกที่เริ่มใช้คำว่า “Nanotechnology” (N. Taniguchi, "On the Basic Concept of 'Nano-Technology", Proc. Intl. Conf. Prod. Eng. Tokyo, Part II, Japan Society of Precision Engineering, 1974) นาโนเทคโนโลยีถือกำเนิดมาจากแนวความคิดที่ว่า วัตถุในโลกที่เห็นด้วยตาเปล่านั้นประกอบมาจากอะตอมและโมเลกุล ดังนั้นการผลิตสิ่งต่างๆ จึงน่าที่จะทำในลักษณะสร้างสิ่งใหญ่ขึ้นมาจากสิ่งเล็ก (Bottom-UP Manufacturing) ในระดับโมเลกุลหรืออะตอม นาโนเทคโนโลยีเป็นการผสมผสานของวิทยาศาสตร์หลายแขนง เช่น ชีววิทยา ชีวเคมี วิศวกรรมศาสตร์สาขา หุ่นยนต์ และเครื่องจักรกล จุดมุ่งหมายสูงสุดของนาโนเทคโนโลยีก็คือความสามารถที่จะสร้างและจัดเรียงอนุภาคต่างๆได้ตามความต้องการ เพื่อสร้างสสารหรือโครงสร้างของสารในแบบใหม่ๆที่ให้คุณสมบัติพิเศษที่อาจจะไม่เคยมีก่อนการพัฒนานาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เนื่องจากนาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการจัดเรียงตัวของอนุภาคขนาดเล็ก เช่น อะตอมหรือ โมเลกุลเข้าด้วยกัน ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้จึงต้องมีความสามรถในการมองเห็นอะตอมได้ ซึ่ง ดร.เกิร์ด บินนิก (Gerd Binnig) และ ดร.ไฮริกช์ รอเรอร์ (Heinrich Rohrer) เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษขึ้นมาที่เรียกว่า Scanning Tunneling Microscope หรือที่เรียกย่อว่า STM ซึ่งสามารถให้เราได้เห็นภาพของอะตอมเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ.2524) และทั้งสองคนได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานนี้ในปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ.2529) ซึ่งนอกจาก STMจะทำให้เราสามารถมองเห็นอะตอมได้เป็นครั้งแรกแล้ว เครื่องมือนี้ยังสามารถนำมาใช้เคลื่อนย้ายและจัดเรียงอะตอมให้อยู่บนพื้นผิวตามตำแหน่งที่ต้องการได้ด้วย การเคลื่อนย้ายอะตอม ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2532 เมื่อนาย Don Eigler นักฟิสิกส์ ประจำห้องทดลองของบริษัท IBM ใช้เข็มปลายแหลมของกล้องจุลทรรศน์ STM ทำการเคลื่อนย้าย อะตอมของธาตุXenon จำนวน 35 อะตอม มาวางเรียงกันลงบนแผ่นนิกเกิล จนได้เป็น ป้ายชื่อบริษัท IBM ขนาดเล็กที่สุดในโลก คือมีขนาดเพียง 0.0000017 เมตร หลังจากนั้นก็ได้มีการทดลองและศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในระดับนาโนขึ้นอีกหลายชิ้นเพื่อนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาอุปกรณ์ ขึ้นใช้ประโยชน์ ในด้านต่าง ๆ ต่อไป ตัวอย่างงานวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น ในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ.2528) ศ.ดร. ฮาร์โรลด์ โครโต้ (Harold Kroto) นักฟิสิกส์ด้านอวกาศแห่งมหาวิทยาลัยซัสเซ็ก (University of Sussex)สหราชอาณาจักร ร่วมกับ ศ.ดร. ริชาร์ด สมอลลีย์ (Richard Smalley) และ ศ.ดร. โรเบิร์ต เคิร์ล (Robert Curl) ณ มหาวิทยาลัยไรซ์ (Rice university) สหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลคาร์บอนที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมเหมือนลูกฟุตบอลที่ประกอบด้วยคาร์บอน 60 อะตอม นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านได้ตั้งชื่อรูปทรงกลมนี้ว่า “บัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีน” (Buckminster Fullerene)หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า บัคกี้บอล (Bucky ball) ซึ่งผลจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1996 ต่อมานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจำนวนมากต่างก็พากันศึกษาคุณสมบัติในด้านต่างๆ ของบัคกี้บอลกันอย่างมโหฬาร หนึ่งในนั้นก็คือการศึกษาสรรพคุณทางยาของบัคกี้บอล ผลจากการศึกษาที่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ พอจะสรุปสรรพคุณทางยาของบัคกี้บอลได้ดังนี้
สรรพคุณในการเป็นยาต่อต้านไวรัส (Antivirals)
สรรพคุณในการเป็นสารต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials)
สรรพคุณในการต่อต้านมะเร็งและเนื้องอก (Tumor/Anti-Cancer therapy)
สรรพคุณในการเป็นสารต่อต้านการตายของเซลล์ (Anti-apoptosis agents)
สรรพคุณในการเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)
นอกจากคุณสมบัติเชิงฟิสิกส์และเคมีซึ่งสามารถนำมาบั๊คกี้บอลประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด ยังสามารถนำบัคกี้บอลไปใช้ประโยชน์ในด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ (nanoelectronic) เป็นส่วนประกอบหลักในการพัฒนาเซลล์สุริยะ รวมทั้งการใช้บัคกี้บอลเป็นตัวบรรจุอะตอมโลหะและโมเลกุลของก๊าซชนิดต่างๆ เช่น ไฮโดรเจน เป็นต้น นอกจากนี้ในปี 2539 ซูมิโอะ อิจิมา (Sumio Iijima) นักเคมีแห่งบริษัท NEC ประเทศญี่ปุ่น ได้ค้นพบท่อนาโนคาร์บอน (carbon nanotube) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ 50,000 เท่า แต่มีคุณสมบัติที่แข็งแรงและเหนียวกว่าเหล็กกล้า 100 เท่า สามารถนำไฟฟ้าหรือว่ากลายเป็นฉนวน (ไม่นำไฟฟ้า) ได้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นสายไฟจิ๋วในเครื่องใช้ไฟฟ้า (nanoelectronics) ใช้ทอเป็นเส้นใยที่มีความละเอียดสูง และทนทานกว่าไทเทเนียม เป็นต้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างพากันตื่นตัวและให้ความสนใจต่อนาโนเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน "นาโนเทคโนโลยี" กำลังกลายมาเป็นโครงการศึกษา และวิจัยในระดับชาติของหลายประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนาโนเทคโนโลยีมาหลายปีแล้ว โดยมีงบประมาณถึง 116 ล้านเหรียญดอลลาร์ในปี ค.ศ. 1997(พ.ศ.2540) และเพิ่มเป็น 260 ล้านเรียญดอลลาร์ในปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ.2542) แต่การตื่นตัวในเรื่องนี้เพิ่งเห็นได้ชัดเจนอย่างยิ่งเมื่อต้นปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ.2543) ที่ประธานาธิบดีบิล คลินตันได้ออกมากล่าวถึงความสำคัญของนาโนเทคโนโลยีด้วยตนเอง และระบุว่ารัฐบาลทุ่มทุนให้การสนับสนุนวิจัยและพัฒนาในเรื่องดังกล่าวถึง 422 ล้านเหรียญดอลลาร์ (18.5 พันล้านบาท) และจะเพิ่มอีกเป็น 519 ล้านเหรียญดอลลาร์ (กว่า 20,000 ล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ.2544) ส่วนในไต้หวัน สถาบัน The Industrial Technology Research Institute (ITRI) ก็ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology Research Center) เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ.2545) โดยจัดสรรเงินประเดิมสำหรับการวิจัยในเวลา 6 ปี เป็นจำนวน 300 ล้านเหรียญดอลลาร์ แนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นในทำนองเดียวกันในวงการวิจัยของประเทศญี่ปุ่น จีน และประเทศในทวีปยุโรป โดยสหภาพยุโรปได้ทุ่มเงินกว่า 13,000 ล้านยูโรในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนาโนเทคโนโลยี
Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่ กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย 1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น หมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
ความสำคัญ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้นเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อแก้ไขในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ประโยชน์
- ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แถมยังช่วยพัฒนาระบบอารายธรรมโดยทางอ้อมอีกด้วย เรื่องราวจากการเริ่มต้นเทคโนโลยี ยาวนานจนบัดนี้ทำให้มนุษย์เราแทบไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีไปได้แล้ว
-ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น
-ช่วยให้เราทันสมัย
-ช่วยประหยัดเวลา
-ช่วยในการทำงาน
กำเนิดเทคโนโลยี
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว กลุ่มเล็กที่สุดเรียกว่าครอบครัว ถัดขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ จนในที่สุดเป็นเมือง เป็นประเทศ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่ชุมชนตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศ การติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับ ข้อมูลข่าวสารถึงกัน แรก ๆ ก็เป็นการบอกกันปากต่อปากต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่าง ๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกันความต้องการการสื่อสารด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้นมีความรวมเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งอาศัยหลักวิชาทาง วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เรียกว่า คลื่นวิทยุ) กระจายไปในอากาศ เมื่อถึงปลายทาง สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้นก็จะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นคำพูด ข้อความหรือภาพเหมือนกับที่ส่งออกไปจากต้นทาง ทำให้ที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ ข้อมูลข่าวของกันและกันได้ภายในชั่วพริบตาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมานี้เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมสองเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึงตัวเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เราใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ (คำนวณ เปรียบเทียบ และตรวจสอบได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม (ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล) ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศนั่นเอง
ความแตกต่างของเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
มีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญ คือ เวลา และสถานที่ หากสิ่งใดที่ถูกใช้ในสถานที่หนึ่งเป็นเวลานานและเกิดการยอมรับอย่างแพร่หลาย มักเรียกสิ่งนั้นว่าเทคโนโลยี เพราะใช้ประโยชน์ในที่นั้นเป็นระยะเวลาหนึ่งจนทุกคนในกลุ่มรู้สึกคุ้นเคย แต่ถ้านำสิ่งนั้นไปใช้ในพื้นที่ใหม่เป็นครั้งแรกเกิดการเรียนรู้ใหม่ มีการตื่นตัวภายในกลุ่ม และเริ่มยอมรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับก็จะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่านวัตกรรม
ตัวอย่างการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1 ระบบเอทีเอ็ม
เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคารและเป็นตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศทีได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ดังรูปที่ 1.13โดยในปีพ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้แบงค์ ในเมืองนิวยอร์กเริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงรวมวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น.หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคารในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความ
สะดวกสบาย และคล่องตัวได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเป็นลูกค้าของธนาคารตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัวในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะหันมาให้บริารเอทีเอ็มบ้างการนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรกสร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคู่แข่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ โตเกียว ปารีสและรวมถึงกรุงเทพฯด้วย กล่าวคือธนาคารใดในเมืองเหล่านั้นที่ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือกว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่งเนื่องจากได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในแง่ปรับปรุงการบริการแก่ลูกค้าเช่น ปรากฏการณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อนจึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็มก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูลกับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจาดธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูลยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลางในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีฝากในธนาคารแห่งนั้น ๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกลนอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวนผลรายการต่าง ๆเช่น การฝาก การโอนและการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุดสามารถเรียกใช้และแก้ไขได้ในระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย และการประมวนผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและธุรกิจได้อีกมากมาย
2 การลงทะเบียนเรียน
การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจ แต่ตัองเป็นวิชาที่กำหนดในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดั้งนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวนผลแบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ามีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม หรือวิชาใดแทนได้บ้าง
ขั้นตอนของการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีดังนี้
1) นักศึกษานำรายวิชาที่สนใจจะเรียน ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอความชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา จึงนำไปลงทะเบียนเรียนได้
2) นักศึกษานำเอกสารการลงทะเบียนที่มีลายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา มาพบกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าลงทะเบียนป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่ เช่น มีผู้ลงทะเบียนวิชานั้นเต็มแล้ว ไม่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องให้นักศึกษาเปลี่ยนกลุ่มเรียน หรือหากต้องการลงทะเบียนวิชาใหม่ ก็ต้องกลับไปขอ
ความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาอีกครั้ง
3) โปรแกรมพิมพ์รายการที่นักศึกษาลงทะเบียนทั้งหมด พร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน
4) นักศึกษาจ่ายเงินและรับเอกสารใบเสร็จที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
5) เมื่อลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่บ่งบอกได้ว่า แต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง นักศึกษาลงทะเบียนรวมทั้งสิ้นกี่คน พร้อมทั้งพิมพ์รายงานการลงทะเบียน
ของนักศึกษาในแต่ละรายวิชา แจ้งให้อาจารย์ที่สอนวิชานั้น ๆ ทราบ
6) ในกรณีที่นักศึกษาต้องการเพิ่มหรือถอนการลงทะเบียนในภายหลัง ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่อนุญาต นักศึกษาสามารถดำเนินการโดยขออนุญาตการเพิ่มหรือถอนจากอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำวิชา และนำเอกสารมาให้เจ้าหน้าที่ป้อนรหัสที่เพิ่มหรือถอนโปรแกรมจะตรวจสอบกับฐานข้อมูล และพิมพ์รายการทางการเงิน พร้อมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ ข้อมูลในระบบการลงทะเบียนของสถานศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงและทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สามารถเรียกใช้หรือตรวจสอบได้ทันที ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการศึกษาต่าง ๆเช่น การจัดตารางสอน การจัดห้องสอบ การปรับปรุงข้อมูลคะแนน รวมถึงการรายวานผลต่าง ๆ
3 การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและค่าใช้จ่าย
ที่ตํ่ากว่าระบบการสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูปแบบเว็บเพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย
การประยุกต์ที่น่าสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือ ระบบพาณิชย์อิทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (electronic commercr : e-commerce) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการตั้งร้านคาบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้เขาใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าร่วมชม
จากที่ต่าง ๆ ได้ทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น ร้านค้าหนังสือหลายแห่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต นำเสนอรายการ และตัวอย่างหนังสือบนเครือข่าย มีหนังสือที่ร้านนำเสนอหลายแสนเล่ม มีระบบเครือข่ายค้นหาหนังสือที่ต้องการ และหากสนใจติดต่อสั่งซื้อก็กรอกลงในแบบฟอร์มการส่งซื้อมีระบบการชำระได้หลายแบบ เช่น ระบบชำระเงินผ่านเครดิต ระบบการโอนผ่านธนาคาร ระบบการนำสินค้าส่งถึงที่แล้วจึงค่อยชำระเงินการจัดส่งสินค้าก็ทำได้อย่างรวดเร็ว มีเครือข่ายการส่งสินค้าได้ทั่วโลกผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าแบบเร่งด่วน ระบบการค้าขายบนอินเทอร์เน็ตจึงเติบโตและมีผู้นิยมอย่างมาก ทั้งนี้เพราะข้อดีคือ สามารถนำเสนอลูกค้าให้กับลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่มีมากและราคาถูกในท้องที่หนึ่ง เช่น คนไทยสามารถส่งปลาทูขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซไปยังผู้บริโภคแถบตะวันออกกลาง โดยระบบบรรจุหีบห่อแช่แข็งขนาดเล็ก ส่งผ่านทางบริษัทจัดส่งสินค้าเร่งด่วนไปยังผู้บริโภคได้ นอกจากนี้สินค้าประเภทหัตถกรรมไทยจำนวนมากก็เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ การนำเสนอสินค้าผ่านทางเครือข่าย จึงเป็นหนทางของการเปิดตลาดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนในปัจจุบันมีผู้ตั้งร้านค้าบนเครือข่ายมากมาย โดยเฉพาะกลุ่ม
อุตสาหกรมขนาดย่อมนอกจากการทำการค้าบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว บริษัทห้างร้าน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็หันมาดำเนินกิจการ หรือให้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวก
สบายขึ้น โรมแรมและการท่องเที่ยวเสนอบริการ และการจองเข้าพักโรงแรมหรือการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางอินเทอร์เน็ต กรมสรรพากรเสนอบริการให้ผู้เสียภาษียื่นแบบรายการการเสียภาษีผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้คนหลายแสนคนที่มีหนาที่ต้องยื่นแบบรายการเสียภาษีไม่ต้องเดินทางไปที่
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ผู้เสียภาษีสามารถยื่นแบบรายการเสียภาษได้จากที่ทำงาน หรือที่บ้าน ทำให้ลดปัญหาด้านการเดินทางและการจราจรได้มากบริษัทและหน่วยงานทางธุรกิจจำนวนมากใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสั่งใบซื้อสินค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การตรวจสอบรายการสินค้าตามห้างร้านค้าปลีกแบบ
ออนไลน์ การโต้ตอบธุรกรรมต่าง ๆ ทำให้ลดการใช้กระดาษและทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการรัฐมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยราชการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเช่นกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำงานบนเครือข่ายทำให้เกิดการดำเนินกิจการที่เรียกว่า "อีกอป เวอร์น
เมนต์" (eGovernment ) เช่น เมื่อประชาชนติดตามกระทรวงต่างประเทศเพื่อขอหนังสือเดินทาง กระทรวงต่างประเทศต้องการตรวจสอบบุคคล ก็สามารถเชื่อมโยงเรียกใช้ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้าน
และบัตรประชาชนได้จากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทยโดยตรงและทันทีทำให้การตรวจสอบบุคคลได้แม่นยำและถูกต้อง โดยประชาชนผู้ขอใช้บริการไม่ต้องถ่ายสำเนา และการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐทำให้การบริการประชาชนมีความรวดเร็ว และเป็นที่ปรารถนาของประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานราชการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
กับบริษัท ห้างร้าน เช่น การประมูลซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยหน่วยงานรัฐจะเสนอรายการซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต และให้บริการผู้ขายเสนอราคาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้การประมูลจัดซื้อของทางราชการมีความรวดเร็ว สะดวก และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ
ความหมาย
สารสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสารเงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมายปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น และสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน
ความสำคัญ
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีกาติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ไว้หลายประการดังต่อไปนี้ (จอห์น ไนซ์บิตต์ อ้างถึงใน ยืน ภู่วรวรรณ)
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการ
แข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิธีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
ประโยชน์
ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น
1. ด้านการวางแผนสามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น
2. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ
การกำเนิด
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัว ถัดขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ จนในที่สุดเป็นเมือง เป็นประเทศ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่ชุมนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ จนเกิดเป็นค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศขึ้นการติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับข้อมูลข่าวสารถึงกันแรกๆก็เป็นการบอกกันปากต่อปาก ต่อมาก็มีการสื่อกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่างๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกัน ความต้องการสื่อสารกันด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้น และมีความรวดเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีคมนาคม ซึ่งอาศัยหลัดวิชาทางวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูดหรือข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(เรียกว่าคลื่นวิทยุ) กระจายไปในอากาศเมื่อถึงหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศขึ้น การติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับข้อมูลข่าวสารถึงกันแรกๆก็เป็นการบอกกันปากต่อปาก ต่อมาก็มีการสื่อกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่างๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกัน ความต้องการสื่อสารกันด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้น และมีความรวดเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีคมนาคม ซึ่งอาศัยหลัดวิชาทางวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูดหรือข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เรียกว่าคลื่นวิทยุ) กระจายไปในอากาศเมื่อถึง หมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศขึ้น การติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับข้อมูลข่าวสารถึงกันแรกๆก็เป็นการบอกกันปากต่อปาก ต่อมาก็มีการสื่อกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่างๆ ซึ่งต่อมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกัน ความต้องการสื่อสารกันด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้น และมีความรวดเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีคมนาคม ซึ่งอาศัยหลัดวิชาทางวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูดหรือข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เรียกว่าคลื่นวิทยุ) กระจายไปในอากาศเมื่อถึงปลายทาง สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้น ก็จะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นคำพูดหรือข้อความหรือภาพเหมือนกับที่ส่งออกไปจาดต้นทาง พัฒนาการของเทคโนโลยีคมนาคมนี้ ทำให้คนที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารของกับและกันได้ภายในชั่วพริบตา เพราะอัตราความเร็วของการเดินทางของสัญญาณไฟฟ้าตามสายหรือของคลื่นวิทยุนั้นอยู่ในระดับเดียวกับความเร็วของแสง เช่น เหตุร้ายจากการก่อวินาศกรรมโดยใช้เครื่องบินโดยสารที่จี้บังคับมาชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่นครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 นั้น คนทั้งโลกได้เห็นภาพเห็นเหตุการณ์สดๆ ผ่านเครือข่ายข่าวโทรทัศน์ของซีเอ็น
ตัวอย่างสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล การแก้ไขเปลี่ยนแปลง การเรียนกดูข้อมูล การประมวลผล การใช้งานร่วมกันแบบหลายๆ คน และการวิเคราะห์ข้อมูล ทำได้ง่ายและเพิ่มคุณค่า ประโยชน์ ในการใช้งานข้อมูล ขณะเดียวกันเทคโนโลยียังสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ
ดังนั้นองค์กรที่มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่ช่วยให้และเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรในทุกองค์กรในการปฏิบัติงานขององค์การได้อย่างามประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต
โดยแบ่งออกเป็น 4 งาน ดังนี้
1. งานบริหารบุคคล
1.การสรรหาและเลือกสรรบุคลากรทางการศึกษา
1.1 การประกาศรับสมัคร โดยใช้สารสนเทศมามีบทบาท กรมแรงงาน น.ส.พ.ท้องถิ่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต
1.2 การรับสมัคร ให้กรอกใบสมัคร มี ประวัติ การศึกษา ประสบการณ์ โดยส่งทางอีเมล์
1.3 การสัมภาษณ์เบื้องต้น รับสมัครแล้วสัมภาษณ์เบื้องต้นก่อน ถ้าไม่ตรงจะได้ตัดออกไม่ให้สมัคร
1.4 การสอบ เป็นการสอบความรู้ความสามารถ เป็นสอบข้อเขียนอาจเป็นข้อสอบปรนัยหรืออัตนัย และสอบปฏิบัติ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ สอนในชั้นเรียน
1.5 การสอบสัมภาษณ์ สอบหลังจากผ่านการสอบในข้อ 2.4 แล้ว
12.6 การตรวจสอบภูมิหลัง อาจตรวจสอบจากสถานการศึกษา ที่ทำงานเดิมของผู้สมัคร
1.7 การคัดเลือกขั้นสุดท้าย เป็นการประเมินจากขั้นตอนที่แล้ว
1.8 การบรรจุแต่งตั้งเข้าทำงาน อาจให้เลือกหน่วยงานตามลำดับของผลการสอบ
2. งานบริหารทั่วไป
1. งานประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน โดยจัดทำในรูปแบบของ
- การทำเว็บไซต์ของโรงเรียน
- จัดทำในรูปของ powerpoint
- สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2. งานธุรการของโรงเรียน
- รับ- ส่ง เอกสารทาง e-filing
3. งานบริหารงบประมาณ
การใช้สารสนเทศในการจัดทำงานบริหารงบประมาณเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและสะดวกรวดเร็วทางโรงเรียนจึงได้ทำให้อยู่ในแต่ละหมวด ดังนี้
1.หมวดเงินเดือน เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการเป็นรายเดือน
2.หมวดค่าจ้างประจำ เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำ
3.หมวดค่าจ้างชั่วคราว เงินที่จ่ายเป็นค่าแรงสำหรับการทำงานปกติของแก่ลูกจ้างชั่วคราว
4.หมวดค่าตอบแทน เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้ทางราชการ เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร
5.หมวดค่าใช้สอย ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ายานพาหนะ ค่าที่พัก ค่าซ่อมแซมอาคารสถานที่และครุภัณฑ์
6.หมวดค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา
7.หมวดค่าวัสดุ ค่าใช้จ่ายซื้อสิ่งของต่างๆ เช่น กระดาษ หลอด
8.หมวดค่าครุภัณฑ์ รายจ่ายเพื่อซื้อสิ่งของที่คงทน ใช้ได้นาน เช่น คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้
4. งานบริหารวิชากา
1.ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องทําการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด สารสนเทศส่วนนี้เกิดจากครูผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจําแนกเป็นรายชั้นรายปี ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน รายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียน รายงานความประพฤติ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการจัดทําขึ้นให้เป็นไปตามมาตรฐานการประเมินตนเอง เพื่อรองรับการประเมินจากต้นสังกัด และโรงเรียนก็สามารถให้ข้อมูลหรือ ระบบสารสนเทศแสดงผลสัมฤทธิ์ให้เห็นทุกตัวในฐานข้อมูลว่าขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง โดยการเก็บข้อมูลจะส่งผลกับการประเมินคุณภาพผู้เรียน ผลที่ได้จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกความก้าวหน้าของผู้เรียน
2.ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น หลักสูตรและการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การประกันคุณภาพ การวัดและการประเมินผลการเรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/กิจกรรมแนะแนว สื่อนวัตกรรม การนิเทศ การวิจัยในชั้นเรียน การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เป็นต้น ในงานบริหารฝ่ายวิชาการซึ่ง ประกอบด้วยฝ่ายวัดผล ฝ่ายประเมินผล หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระ ต้องมีการเก็บข้อมูลในด้านต่างๆและจากการเก็บข้อมูลก็จะสามารถพบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่างๆอย่างไร และโรงเรียนก็ต้องมีวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เช่น โรงเรียนอาจจะช่วยนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหานี้ได้ด้วยสอนเสริมเพิ่มเติมในวิชาที่นักเรียนมีปัญหา และจากผลความก้าวหน้าตรงนี้จะเป็นชี้วัดว่าโรงเรียนต้องพัฒนาตัวเองให้ไปในทิศทางใดได้อย่างไร